วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550

ประมวลรายวิชาการใช้บำรุงรักษาจักร

แผนการสอน
ชื่อรายวิชา การใช้และบำรุงรักษาจักร รหัสวิชา 2401 – 1003
ระดับชั้น ปวช.1 ชผ. แผนกวิชา ผ้าและเครื่องแต่งกาย
หน่วยกิต 1 – 3 – 2 จำนวนชั่วโมงรวม 4 ชั่วโมง
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับจักรธรรมดา จักรคอมพิวเตอร์ จักรอุตสาหกรรมได้
2. เพื่อให้มีความสามารถในการเย็บผ้าด้วยจักรธรรมดา จักรคอมพิวเตอร์ จักรอุตสาหกรรมได้
3. เพื่อพัฒนาในการฝึกทักษะการเย็บด้วยระบบจักรอุตสาหกรรมได้
4. เพื่อให้เกิดการบูรณาการ การเย็บด้วยระบบจักรอุตสาหกรรม พร้อมดูแลรักษาจักร อุปกรณ์ประกอบการตัดเย็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มาตรฐานรายวิชา
1. ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับจักรธรรมดา จักรคอมพิวเตอร์ จักรอุตสาหกรรมได้
2. ผู้เรียนสามารถฝึกพื้นฐานการเย็บผ้าด้วยจักรธรรมดา จักรคอมพิวเตอร์ จักรอุตสาหกรรมได้
3. ผู้เรียนมีพัฒนาในการฝึกทักษะการเย็บผ้าด้วยระบบจักรอุตสาหกรรมได้
4. ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ในการบูรณาการการเย็บผ้าด้วยระบบอุตสาหกรรมพร้อมการดูแลและรักษาจักร อุปกรณ์ประกอบการตัดเย็บได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการผลิต

คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาชนิดและลักษณะของจักร และอุปกรณ์การตัดเย็บ การใช้จักร การเย็บตะเข็บเบื้องต้น และแบบฝึกหัดพื้นฐาน ในระบบงานอุตสาหกรรม บำรุงรักษาจักรและอุปกรณ์การตัดเย
ชื่อเรื่องและงาน สมรรถนะที่พึงประสงค์ของแผนการสอน
ชื่อเรื่องและงาน
สมรรถนะที่พึงประสงค์
- ชนิดและลักษณะของจักรเย็บผ้าธรรมดา จักรคอมพิวเตอร์ จักรอุตสาหกรรม
- ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ชนิดของจักรเย็บผ้าธรรมดา จักรคอมพิวเตอร์ จักรอุตสาหกรรมได้
- ผู้เรียนสามารถพัฒนาจำแนกลักษณะของจักรธรรมดา จักรคอมพิวเตอร์ จักรอุตสาหกรรมได้อย่างถูกต้อง
- จักรเย็บผ้าชนิดธรรมดา วิธีใช้ การบำรุงรักษา การปรับแก้ไขจักร ฯลฯ
- ผู้เรียนมีความเข้าใจ รู้วิธีใช้ การบำรุงรักษา การปรับแก้ไขจักร ฯลฯ
- ผู้เรียนฝึกทักษะจนมีพัฒนาการในการเย็บผ้าด้วยจักรธรรมดา รู้วิธีการบำรุงรักษา สามารถปรับ แก้ไขจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- จักรเย็บผ้าคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ วิธีใช้ การบำรุงรักษา การปรับแก้ไขจักรฯ
- ผู้เรียนมีความรู้เรื่องจักรเย็บผ้าคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ วิธีใช้ การบำรุงรักษา การปรับแก้ไขจักร ฯลฯ
- ผู้เรียนมีประสบการณ์ ในทักษะการเย็บผ้าด้วย จักรคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ วิธีใช้ การบำรุงรักษา การปรับแก้ไข
- จักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม อุปกรณ์ วิธีใช้ การบำรุงรักษา การปรับแก้ไขจักรฯ และระบบการทำงานของจักร
- ผู้เรียนมีความรู้เรื่องจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม อุปกรณ์ วิธีใช้ การบำรุงรักษา การปรับแก้ไขจักรฯ และระบบการทำงานของจักร
- ผู้เรียนสามารถฝึกทักษะการเย็บพื้นฐานด้วย จักรอุตสาหกรรม อุปกรณ์ วิธีใช้จักรฯ การบำรุงรักษา การปรับแก้ไข และรู้ระบบการทำงานของจักรอุตสาหกรรมได้ถูกต้อง
- สุขภาพและความปลอดภัย ในการใช้ จักรอุตสาหกรรม
- ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามวิธีการ สุขภาพและ ความปลอดภัย ในการใช้จักรอุตสาหกรรมได้อย่างถูกวิธี
- ฝึกพัฒนา ทักษะ การตัดเย็บระบบอุตสาหกรรม
- ผู้เรียนสามารถบูรณาการ การใช้จักรอุตสาหกรรม ในการตัดเย็บเสื้อผ้าระบบอุตสาหกรรมได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานงานอุตสาหกรรม

ประมวลรายวิชา (Course Syllabus)
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา
****************************
ภาคเรียนที่ 1/2549 รหัส 2401 – 1003 ชื่อวิชา การใช้และบำรุงรักษาจักร
แผนกวิชา ผ้าและเครื่องแต่งกาย คณะวิชา คหกรรม ผู้สอน อรทัย เอนกอายุวัฒน์
ระดับชั้น ปวช.1 ชผ./ชอผ. ชั่วโมง – หน่วยกิต 1 – 3 – 2

วิชาที่ต้องผ่านการเรียนมาก่อน -

1. คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาชนิดและลักษณะของจักรและอุปกรณ์การตัดเย็บ การใช้จักร การเย็บตะเข็บเบื้องต้น และแบบฝึกหัดพื้นฐาน ในระบบงานอุตสาหกรรม บำรุงรักษาจักร และอุปกรณ์การตัดเย็บ

2. จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจักรธรรมดา จักรคอมพิวเตอร์ จักรอุตสาหกรรม
2. เพื่อฝึกทักษะระบบจักรอุตสาหกรรม และสามารถบำรุงรักษาจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อให้เกิดความชำนาญ และมีประสบการณ์ ในการตัดเย็บระบบงานอุตสาหกรรมได้อย่างมีคุณภาพ

3. มาตรฐานการเรียนรู้ (สมรรถนะ)
1. นักเรียนมีความรู้ สามารถเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดเย็บระบบอุตาหกรรมได้
2. นักเรียนมีความสามารถพัฒนาทักษะการเย็บระบบอุตสาหกรรม และสามารถบำรุงรักษาจักรได้
3. นักเรียนสามารถบูรณาการ การใช้จักรอุตสาหกรรม และบำรุงจักรอุตสาหกรรมให้มีคุณภาพการใช้งานตาม
มาตรฐานได้

4. เอกสารอ้างอิง / ค้นคว้าเพิ่มเติม
อัจฉราพร ไศละศูต และสมศรี สุกุมลจันทร์. วิชา ชุดครูประกาศนียบัตร วิชา การศึกษาหมวดคหกรรมศาสตร์
ตอนที่ 1 วิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ
กมล ฤทธิโชติ. คพ.006 การใช้จักรอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมอาชีวศึกษา
คอยบริการเครื่องจักรกล, “การแก้ไขและบำรุงรักษาจักรเย็บผ้า”, กรุงเทพฯ กรมอาชีวศึกษา

5. หน่วยการเรียน
สัปดาห์ที่
เนื้อหา
กิจกรรม
จำนวนชั่วโมง
1 – 2
- ชนิดและลักษณะของจักรเย็บผ้า
ฝึกปฏิบัติวิธีใช้จักรแบบธรรมดา
8
3 – 5
- อุปกรณ์ประกอบจักร
- จักรเย็บผ้าชนิดธรรมดา
ฝึกปฏิบัติวิธีใช้อุปกรณ์ทุกชนิด
ฝึกปฏิบัติใช้จักรเย็บผ้าชนิดธรรมดา
12
6 – 7
- จักรเย็บผ้าระบบคอมพิวเตอร์
ฝึกปฏิบัติใช้จักรคอมพิวเตอร์
8
สัปดาห์ที่
เนื้อหา
กิจกรรม
จำนวนชั่วโมง
8 - 10
- จักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม
ฝึกปฏิบัติวิธีใช้จักรอุตสาหกรรม
12
11
อุปกรณ์ประกอบการตัดเย็บ
ฝึกใช้อุปกรณ์ประกอบการตัดเย็บ
4
12 – 14
เทคนิคการเย็บจักรอุตสาหกรรม
ปฏิบัติเทคนิคการเย็บ
12
15 – 17
ฝึกพัฒนาทักษะการตัดเย็บเสื้อสำเร็จรูป
ฝึกปฏิบัติพัฒนาทักษะ
12
18
สอบปลายภาคเรียน
-
4

6. กิจกรรมการเรียนการสอน
1. เน้น กระตุ้น ให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น ฝึกความสามารถ และทักษะพื้นฐานของนักเรียน
2. ฝึกปฏิบัติทักษะการใช้จักรอุตสาหกรรม และปฏิบัติการตัดเย็บพื้นฐาน ระบบอุตสาหกรรม
3. ฝึกให้นักเรียนนำเสนอผลงานตนเอง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันในชั้นเรียน

7. สื่อการเรียนการสอน
1. จักรและอุปกรณ์ของจริง
2. แผ่นภาพ
3. แผ่นใส
4. อุปกรณ์จักรธรรมดา จักรอุตสาหกรรมของจริง

8. การประเมินผล 9. ช่วงคะแนนการประเมินผล
การประเมิน
คะแนน

ช่วงคะแนน
ผลการเรียน
จิตพิสัย
20

80 คะแนนขึ้นไป
4
งานเดี่ยว
20 (1 ชิ้นงาน)

75 – 79
3.5
งานกลุ่ม
20 (1 ชิ้นงาน)

70 – 74
3
ทดสอบย่อย
20 (2 ครั้ง)

65 – 69
2.5
สอบปลายภาค
20

60 – 64
2
รวม
100

55 – 59
1.5



50 – 54
1



ต่ำกว่า 50 คะแนน
0








หน่วยการสอน

รหัส 2401 – 1003 วิชา การใช้และบำรุงรักษาจักร
จำนวน 4 ชั่วโมง / สัปดาห์ รวมชั่วโมงทั้งสิ้น 80 ชั่วโมง

หน่วยที่
ชื่อหน่วยการสอน
จำนวนชั่วโมง
1.
- ชนิดและลักษณะของจักรเย็บผ้า
- จักรเย็บผ้าชนิดธรรมดา
- จักรเย็บผ้าระบบคอมพิวเตอร์
- จักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม
40

สอบกลางภาคเรียนที่ 1
4
2.
- อุปกรณ์ประกอบการตัดเย็บ
- เทคนิคการเย็บ
- สุขภาพและความปลอดภัยในการใช้จักร
20
3.
ฝึกพัฒนาทักษะ และการตัดเย็บเสื้อสำเร็จรูป
12

สอบปลายภาคเรียนที่ 1 (ประเมินผลงาน)
4














































แผนการสอน
หน่วยที่ 1
ชื่อวิชา การใช้และบำรุงรักษาจักร
สอนครั้งที่ 1 - 2
ชื่อหน่วย ชนิดและลักษณะของจักรเย็บผ้า
ชั่วโมงรวม 8
ชื่อเรื่องหรือชื่อหน่วย ชนิดและลักษณะของจักรเย็บผ้า
จำนวนชั่วโมง……
หัวข้อเรื่องและงาน
1. ขอบข่ายประมวลรายวิชา การใช้และบำรุงรักษาจักร
2. ชนิดและลักษณะของจักรเย็บผ้า
2.1 การเรียกชื่อชิ้นส่วนจักรเย็บผ้าธรรมดา
2.2 การเรียกชื่อชิ้นส่วนจักรเย็บผ้าธรรมดา ซิกแซ็กทำลวดลาย
2.3 การเรียกชื่อชิ้นส่วนจักรเย็บผ้าแบบคอมพิวเตอร์
2.4 การใช้เครื่องจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมแบบต่าง ๆ
สาระสำคัญ
1. อธิบายขอบข่ายประมวลรายวิชา การใช้และบำรุงรักษาจักร
2. ชนิดและลักษณะของจักรเย็บผ้า คือการเรียกชื่อชิ้นส่วนจักรธรรมดา จักรซิกแซ็ก
จักรคอมพิวเตอร์ จักรอุตสาหกรรม
3. การใช้เครื่องจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมแบบต่าง ๆ

สมรรถนะที่พึงประสงค์ (ความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ)
1. สามารถเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้เรื่องลักษณะจักรเย็บผ้าธรรมดา จักรซิกแซ็ก จักรคอมพิวเตอร์
จักรอุตสาหกรรมได้
2. ทราบและเรียกชื่อชิ้นส่วนประกอบจักรเย็บผ้าแต่ละชนิดได้
เนื้อหาสาระ
1. การใช้บำรุงรักษาจักร มีรายละเอียดที่ได้แนบมาในแผนการสอน ดังนี้คือ
1.1 คำอธิบายรายวิชา 1.6 กิจกรรมการเรียนการสอน
1.2 วัตถุประสงค์ 1.7 สื่อการเรียนการสอน
1.3 มาตรฐานการเรียนรู้ (สมรรถนะ) 1.8 การประเมินผล
1.4 เอกสารอ้างอิง 1.9 ช่วงคะแนนการประเมิน
1.5 หน่วยการเรียน




เนื้อหาสาระ

2. ชนิดและลักษณะของจักรเย็บผ้า มี 3 ชนิด คือ
2.1 จักรเย็บผ้าแบบธรรมดา และซิกแซ็กทำลวดลาย (Home Sewing Machine)
2.2 จักรเย็บผ้าแบบคอมพิวเตอร์ (Computer Sewing Machine)
2.3 จักรเย็บผ้าแบบอุตสาหกรรม (Industry Sewing Machine)

1. จักรเย็บผ้าธรรมดา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 จักรเย็บผ้าธรรมดา ฝีเข็มตรง (Lock Stitch) ลักษณะของจักรเย็บผ้าจะประกอบไปด้วย
ส่วนต่าง ๆ ดังนี้คือ








1. ฐานจักร 13. ตีนผี
2. หัวจักร 14. แป้นเลื่อน
3. วงล้อจักร 15. แป้นเข็ม (หรือแป้นครอบฟัน)
4. กระบังสายพาน 16. สกรูยึดอุ้มเข็ม
5. หลักด้าย 17. หลักเข็ม
6. น๊อตบังคับสปริงกดตันผี 18. ปุ่มลดฟัน
7. คันกระตุกด้าย 19. ที่ประคองด้ายกรอไส้กระสวย
8. ฝาครอบหน้าจักร 20. แป้นท้าย
9. ที่บังคับความดึงหย่อน 21. ที่ยึดมอเตอร์
10. สปริงกระตุกด้าย 22. คันปรับฝีเข็ม
11. หลักตีนผี 23. แป้นบอกกะระยะฝีเข็ม
12. สกรูยึดตีนผี 24. ที่กรอไส้กระสวย


เนื้อหาสาระ

1.2 จักรเย็บผ้าธรรมดาฝีเข็มตรง และซิกแซ็กทำลวดลาย มีผู้ผลิตจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้า แบบต่าง ๆ เช่น Janome, Elna, Pfaff, Singer
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของจักรเย็บผ้า












1. ปุ่มย้อนฝีเข็ม 10. ปุ่มปรับแรงกดตีนผี
2. ปุ่มเลือกลาย 11. ปุ่มปรับความตึงด้ายบน
3. ปุ่มปรับความยาวฝีเข็ม 12. ฝาหน้า
4. ปุ่มปรับความกว้างซิกแซ็ก 13. สปริงดึงด้าย
5. ที่หยุดกระสวย 14. ที่ตัดด้าย
6. แกนกรอกกระสวย 15. ไฟส่องเย็บ
7. ที่ยึดหลอดด้าย (ใหญ่) 16. แผ่นปิดช่องเข็ม
8. ฝาบน 17. แผ่นปิดช่องกระสวย
9. แผงอธิบายวิธีการใช้ 18. กล่องใส่อุปกรณ์







เนื้อหาสาระ

2. จักรคอมพิวเตอร์ (Computer Sewing Machine)
ส่วนประกอบของจักรคอมพิวเตอร์











1. ตีนทับผ้า 9. แถบรายละเอียดและหมายเลขเครื่อง ถ้าแรง
ถ้าต้องการเลื่อนตีนทับผ้า ดันไฟฟ้า (โวลท์) ในตัวจักรไม่ตรงกับแรง
31 เลื่อนตีนทับผ้าขึ้น แล้วกรอก้าน ดันไฟในบ้าน อย่าเสียบปลั๊ก
ปลดตีนทับผ้า 10. สวิทซ์
32 สอดตันทับผ้าอันใหม่เข้าแทนที่ แล้ว 11. ช่องใส่คาสเซ็ทลาย
เลื่อนคันโยกตีนทับผ้าลง 12. สายไฟเสียบเข้ากับตัวเครื่อง
2. เข็ม (ใช้เข็มระบบ 130/705H) ถ้าเข็มทื่อหรือ 13. ขาเหยียบควบคุมความเร็ว ดังสายออกจาก
หักงอ ควรเปลี่ยนใหม่ทันที ใส่เข็ม โดยจับ (กรณีต้องการเก็บสาย ทำได้โดยสอดนิ้วหมุน
โคนเข็มให้จนสุดแล้วหมุนสกรูยึดเข็มให้แน่น วงล้อใต้ขาเหยียบ) เสียบปลั๊กเข้าตัวจักร ให้
3. หลอดไฟ 12 โวลท์ 5 วัตต์ แน่ใจว่าดันเข้าจนสุด ควบคุมความเร็วจักร
4. ปุ่มความตึงด้านบน โดยวางเท้าเต็มเท้า (ไม่ควรใช้ปลายเท้า)
5. คันกระตุกด้าย ลงบนขาเหยียบแล้วกดลง
6. แกนกรอด้ายและสวิทซ์ 14. ฟรีอาร์ม
7. หูหิ้วจักรและหลักด้าย 15. ฝาปิดกระสวย – ใส่กระสวย
8. โปรแกรมลาย คีย์บอร์ดและจอแสดงหมายเลข 16. ปุ่มลดฟันจักร (อยู่ด้านหลังฟรีอาร์ม) ใช้ลด
ฟัน เวลาชุนหรือปักจักรล่อนสะดึง
17. ก้านยกตีนทับผ้า ใช้เลื่อนตีนทับผ้าขึ้นและลง

เนื้อหาสาระ

3. จักรอุตสาหกรรม (Industry Sewing Machine)
3.1 จักรอุตสาหกรรมชนิดฝีเข็มตรง (High Speed Sewing machine) ฝีเข็มแบบนี้นิยมใช้กันมาก มี
ลักษณะเช่นเดียวกันกับฝีเข็มจักรธรรมดา ลักษณะโดยทั่วไปของจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมแข็งแรง กระสวย
หมุนรอบ เดินหน้าถอยหลังได้ โดยมีเครื่องบังคับ เย็บได้ทั้งผ้าบาง ผ้าหนา และหนัง มีความเร็วไม่ต่ำกว่า
3,000 – 5,000 รอบ/นาที มีระบบหล่อลื่นอัตโนมัติ การทำงานของเครื่องจักรขับเคลื่อนโดยระบบสายพาน สามารถยกตีนผี โดยใช้เข่าและมือ สามารถใช้ไฟมอเตอร์ 220 โวลต์ มอเตอร์ขนาดไม่น้อยกว่า 1/4 แรงม้า
ขับเคลื่อนโดยระบบคลัตช์ ชื่อการค้า เช่น Singer, Brother, Pfaff, Juki เป็นต้น








3.2 จักรพันริมชนิด 1 เข็ม ใช้ด้าย 3 เส้น มีระบบหล่อลื่นอัตโนมัติ ความเร็วไม่ต่ำกว่า 5,000 ฝีเข็ม/
นาที ฝีเข็มสม่ำเสมอทุกระยะความเร็ว ปลายมีดตัดผ้า ทำด้วยเหล็กทังสเตน อายุการใช้งานนานโดยไม่ต้องปรับ ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ ขนาดไม่น้อยกว่า 1/4 แรงม้า ใช้ไฟ 220 โวลต์




Overlock Sewing








เนื้อหาสาระ

3.3 จักรพันริมชนิด 2 เข็ม ใช้ด้าย 5 เส้น สามารถเย็บพันริมและเย็บตะเข็บลูกโซ่ได้ในขณะเดียวกัน ฝีเข็มเย็บต้องประกอบด้วยฝีเข็มที่เย็บผ้าให้ตัดกันได้ โดยฝีเข็มลูกโซ่และพันริมได้ในขณะเดียวกัน ระยะ ฝีเข็มยาวไม่ต่ำกว่า 3.00 มม. ความสูงของเท้าทับผ้าไม่น้อยกว่า 6.00 มม. ใช้ได้กับผ้าทุกชนิด ทั้งผ้าบาง ผ้าปานกลาง และผ้าหนามีที่ปรับขนาดตะเข็บฝีเข็มเย็บได้ด้วยความเร็วสูงไม่ต่ำกว่า 6,000 รอบ/นาที ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 1/2 แรงม้า ระบบไฟฟ้า 220 โวลต์




Safety Stitch Sewing Machine





3.4 จักรถักรังดุม เป็นจักรอุตสาหกรรมถักรังดุมพร้อมตัดเจาะอัตโนมัติ มีความเร็วของฝีเข็มที่เย็บ 3,300 รอบ/นาที มีระบบหล่อลื่นน้ำมันอัตโนมัติ ปรับฝีเข็มถี่ห่างของรังดุมได้ เจาะรังดุมได้หลายขนาด ตีนผีทับผ้าและแป้นรอบจักรเคลื่อนไปพร้อมกัน ในขณะตัดรังดุมเพื่อไม่ให้ผ้าย่น มีกลไกป้องกันไม่ให้ใบมีดทำงานเมื่อเกิดด้ายขาด ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไม่น้อยกว่า 1/3 แรงม้า ระบบไฟฟ้า 220 โวลต์





High Speed Button Hole Sweing Machine






เนื้อหาสาระ

3.5 จักรอุตสาหกรรมติดกระดุม เป็นจักรอุตสาหกรรมติดกระดุมอัตโนมัติ ใช้ติดกระดุมแบบทั้งแบบ
2 รู และ 4 รู ความเร็วสูงสุดไม่น้อยกว่า 1,5000 ฝีเข็ม/นาที ติดกระดุมใช้ระบบย้าย แค้ม จับลูกกระดุม มีระบบตัดด้ายอัตโนมัติฝีเข็มมาตรฐาน 8 – 16 – 32 ฝีเข็ม/ 1 ครั้ง ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ขนาดไม่น้อยกว่า
1 / 3 แรงม้า ใช้ไฟฟ้า 220 โวลต์







HIGH SPEED BUTTONING MACHINE

3.6 จักรอุตสาหกรรมตะเข็บคู่ลูกโซ่ 2 เข็ม สามารถเย็บตะเข็บแบบตะเข็บลูกโซ่ชนิด 2 เข็ม ตะเข็บคู่ระยะห่างประมาณ 1/4 นิ้ว เย็บผ้าได้ทุกชนิดทั้งผ้าหนาและผ้าบางปานกลาง ใช้สะดวกเย็บได้ด้วยความเร็วสูงสุดประมาณ 3,000 รอบ/นาที มีระบบหล่อลื่นอัตโนมัติ ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด ไม่ต่ำกว่า 1/2 แรงม้า ระบบไฟฟ้า 220 โวลต์









3.7 จักรอุตสาหกรรมสอยปลายขา เป็นจักรอุตสาหกรรมเข็มเดียว ใช้สำหรับสอย เย็บด้วยความเร็วไม่น้อยกว่า 2,300 รอบ/นาที มีที่ปรับตะเข็บฝีเข็มถี่ห่างได้ มีระบบหล่อลื่นด้วยน้ำมัน ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดไม่ต่ำกว่า 1/4 แรงม้า ระบบไฟฟ้า 220 โวลต์


กิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นตอนการสอนหรือกิจกรรมของครู
ขั้นตอนการเรียนหรือกิจกรรมของนักเรียน

1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.1 บอกจุดประสงค์ของประมวลรายวิชาให้
ผู้เรียนทราบ เมื่อเรียนจบเนื้อหาวิชาแล้วจะเกิดการเรียนรู้อะไรบ้าง
1.2 จัดเตรียมภาระงาน แล้วแจ้งเกณฑ์การประเมินให้ผู้เรียนทราบ และปฏิบัติได้ถูกต้อง

2. ขั้นสอน
2.1 ชนิดและลักษณะของจักรเย็บผ้า
2.2 ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปราย, การสาธิต,
ถามตอบ ในหัวข้อดังนี้คือ
1) จักรเย็บผ้าแบบธรรมดา และซิกแซ็ก
ทำลวดลาย
2) จักรเย็บผ้าแบบคอมพิวเตอร์
3) จักรเย็บผ้าแบบอุตสาหกรรม

3. จัดกิจกรรม
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาความรู้ความ
ความเข้าใจ โดยครูจะสาธิตเรียกเครื่องจักรทุกจุด ทุกชนิดของจักร โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 5 – 6 คน เพื่อเตรียมการเรียนในรายเอียดต่อไป

4. ขั้นวิเคราะห์
4.1 ครูให้ผู้เรียนตอบคำถามการเรียกชื่อ
ส่วนประกอบของชนิดของจักรแต่ละชนิดได้ถูกต้อง
4.2 ครูให้คะแนนตามการประเมินงาน โดยมีเกณฑ์การประเมินมาตรฐานเป็นการกำหนด

5. ขั้นสรุป
5.1 โดยให้ผู้เรียนตอบคำถามเป็นรายบุคคล ในบทเรียนหน่วยที่ 2 ชนิดและลักษณะของจักรเย็บผ้า
5.2 ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุปทบทวนในบทเรียน


1. ฟังคำบรรยาย และตอบคำถาม
2. ผู้เรียนร่วมกับครู อภิปรายในเนื้อเรื่องดังนี้
1) การเรียกชื่อชิ้นส่วนจักรเย็บผ้าธรรมดา
2) การเรียกชื่อชิ้นส่วนจักรเย็บผ้าซิกแซ็กลวดลาย
3) การเรียกชื่อชิ้นส่วนจักรเย็บผ้าแบบคอมพิวเตอร์
4) การใช้เครื่องจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมแบบต่าง ๆ
3. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสาธิต และเรียกชื่อชิ้นส่วนของจักรชนิดต่าง ๆ
4. ผู้เรียนอภิปรายตอบคำถามชนิดและลักษณะของจักรเย็บผ้าได้ถูกต้อง
5. ทบทวนการเรียนรู้ ทำแบบฝึกหัด


งานที่มอบหมายหรือกิจกรรม
ก่อนเรียน
- ให้ผู้เรียนฟังคำบรรยาย และตอบคำถามเกี่ยวกับพื้นฐานการใช้จักรแบบธรรมดา
ขณะเรียน
- ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม โดยแบ่งกลุ่มอภิปรายถึงชนิดและลักษณะของจักรเย็บผ้าทุกชนิด
ถึงการใช้และการเรียกชื่อ
- ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทดลองใช้เครื่องจักรเป็นรายบุคคล ของชนิด และลักษณะของจักรเย็บผ้า

หลังเรียน
- ผู้เรียนสามารถ อธิบาย ตอบคำถาม และทดสอบในบทเรียนเรียนถูกต้อง
สื่อการเรียนการสอน และนวัตกรรม
1. จักรเย็บผ้าแบบธรรมดา 1 เครื่อง ของจริง
2. จักรเย็บผ้าแบบซิกแซ็กเย็บลวดลาย 1 เครื่อง ของจริง
3. จักรเย็บผ้าแบบคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ของจริง
4. จักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมทั้ง 7 ชนิด 7 เครื่อง ของจริงและภาพประกอบ
5. เอกสารของ กมล ฤทธิโชติ คผ.006 การใช้จักรอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ หน่วยศึกษานิเทศก์
กรมอาชีวศึกษา กองบริการเครื่องจักรกลกอง “ การแก้ไขและการบำรุงรักษาจักรเย็บผ้า ”
กรุงเทพฯ : กรมอาชีวศึกษา












การประเมินผล
ก่อนเรียน
- โดยการซักถาม สังเกต ด้านความรู้พื้นฐานเดิมที่จะศึกษาต่อเนื่องกับวิชาการใช้บำรุงรักษาจักร
- การอภิปราย

ขณะเรียน
- มีการอธิบาย ซักถาม อภิปราย และกิจกรรมร่วมกันระหว่างครูกับผู้เรียน
- สังเกตพฤติกรรม การเรียนอย่างมีความสุข

หลังเรียน
- สรุปทบทวนเนื้อหา และการนำเสนอโดยเรียกชิ้นส่วนจักรเย็บผ้าทุกชนิด ซึ่งผู้เรียนและครูผู้สอน
มีกิจกรรมร่วมกัน
- ทำแบบฝึกหัด

บันทึกหลังการสอน
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


แผนการสอน
หน่วยที่ 1
ชื่อวิชา การใช้และบำรุงรักษาจักร
สอนครั้งที่ 3 - 5
ชื่อหน่วย จักรเย็บผ้าชนิดธรรมดา
ชั่วโมงรวม 12
ชื่อเรื่องหรือชื่อหน่วย จักรเย็บผ้าชนิดธรรม
จำนวนชั่วโมง……
หัวข้อเรื่องและงาน
1. จักรเย็บผ้าชนิดธรรมดา
1.1 วิธีการใช้จักร
1.2 การบำรุงรักษาจักรเย็บผ้าธรรมดา
1.3 ข้อแนะนำเกี่ยวกับการจัดห้องตัดเย็บ
1.4 การแก้ไขเครื่องจักร
สาระสำคัญ
จักรเย็บผ้าชนิดธรรมดา เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดอันดับหนึ่งของช่างตัดเสื้อ คือ จักรเย็บผ้า ช่างควรเรียนรู้เทคนิคการใช้จักร ตลอดจนวิธีแก้ไขบ้างพอสมควร เมื่อจักรเกิดขัดข้อง และการดูแลรักษาจักรเย็บผ้าอยู่ในสภาพใช้งานได้ดี และคงทนถาวร

สมรรถนะที่พึงประสงค์ (ความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ)
1. สามารถเรียนรู้ส่วนประกอบของจักรเย็บผ้าธรรมดา
2. สามารถเรียนรู้วิธีการเย็บผ้าด้วยจักรธรรมดา และจักรซิกแซ็ก
3. สามารถเรียนรู้วิธีบำรุงรักษาจักรเย็บผ้า แบบธรรมดาและจักรซิกแซ็ก
4. สามารถเรียนรู้การใช้อุปกรณ์ประกอบจักรเย็บผ้าธรรมดา
เนื้อหาสาระ
การใช้จักรธรรมดา


1. คลายหมุดล้อประคับ (วงล้อ) ออกโดยใช้มือซ้ายจับวงล้อ
มือขวาจับที่บังคับล้อหมุนเข้าหาตัวจนล้อประคับหลวม เพื่อ
ไม่ให้เครื่องจักรทำงานในขณะกรอด้าย
2. ดึงด้ายจากหลอดผ่านที่คล้องด้านบนมายังที่บังคับล่าง และ
ดึงขึ้นไปบนไส้กระสวย



เนื้อหาสาระ









3. ใช้ปลายด้ายพันที่ไส้กระสวย 2 – 3 รอบ แล้วนำกระสวยใส่เข้าที่แกนกรอด้าย โดยให้เส้นด้ายอยู่
ด้านบนของแกนกระสวย







4. กดที่บังคับลงให้วงล้อยางติดกับล้อประคับ แล้วเดินจักรทำการกรอด้ายต่อไป

วิธีใส่กระสวย








1. นำไส้กระสวยที่กรอด้ายแล้วใส่ลงในกระสวย โดยจับตัวกระสวยด้วยมือซ้าย ไส้กระสวยมือขวาให้เส้นด้ายหมุนเข้าหาตัวทางด้านบน


เนื้อหาสาระ







2. ใส่ไส้กระสวยเข้าไปในกระสวย แล้วใช้มือขวาหมุนด้ายเข้าไปในร่องผ่านออกมาทางปีกกระสวย
ปล่อยเส้นด้ายไว้ยาว 4 – 5 นิ้ว







3. นำกระสวยไปใส่ที่เปลกระสวย โดยใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้จับที่สลักกดยึดกระสวย สอดเข้าที่แกนของเปลกระสวย แล้วกดเข้าที่จะมีเสียงดัง กิ๊ก เสร็จแล้วดึงเส้นด้ายทางด้านนอก
การใส่กระสวยต้องใส่ให้เข้าที่จริง ๆ ถ้าไม่เข้าที่เวลาเดินเครื่องจักรกระสวยจะหลุด และอาจทำให้ เข็มหักด้ายบนได้

วิธีใส่เข็ม






หมุนวงล้อจักรจนกระทั่งหลักเข็มขึ้นสูงสุดแล้วคลายหมุดรัดเข็มออกด้วยมือขวา ใส่เข็มเข้าไปในที่มีร่องเข็มอยู่ทางด้านนอก ด้านบนเข้าข้างใน เมื่อใส่เข็มถึงที่แล้วหมุนที่บังคับเข็มให้แน่น

เนื้อหาสาระ

วิธีร้อยด้าย







ให้หมุนวงล้อจนก้านกระดูกด้ายขึ้นอยู่ในระดับสูงสุด แล้วเริ่มร้อยด้ายดังนี้
1. ใส่หลอดด้ายลงไปที่แกนใส่หลอดด้าย
2. ผ่านจุดคล้องด้าย
3. ลงมายังที่บังคับด้ายบน
4. ผ่านสปริงกระตุกด้าย
5. ขึ้นไปที่ก้านกระตุกด้าย
6. ผ่านลงห่วงคล้องด้ายซึ่งอยู่ที่ฝาครอบจักรด้านหน้า

การเตรียมเย็บ
การเย็บ






สอดผ้าเข้าใต้ตีนผี แล้วกดก้านตีนผีลงทับผ้าไว้ มือซ้ายป้อนผ้า มือขวาหมุนวงล้อเข้าหาตัวพร้อมกับเริ่มใช้เท้าถีบจักรให้เดิน ขณะเย็บป้อนผ้าตามจักรอย่าดึงผ้า หรือป้อนผ้าเร็วเกินไป
การบังคับความตึงอย่อนของเส้นด้าย
สำหรับการเย็บธรรมดาความตึงของเส้นด้ายจะต้องเท่ากันทั้งด้านบนและด้านล่าง ถ้าเส้นหนึ่งใดตึงมากไปกว่าอีกเส้นหนึ่ง ฝีเข็มจะไม่ได้ลักษณะที่ดี ดังปรากฏต่อไปนี้


เนื้อหาสาระ









1. ความตึงของด้ายบนน้อยเกินไป
2. ปรับด้าย โดยหมุนปุ่มด้ายไปทางขวามือเล็กน้อย
3. ลักษณะของฝีเข็มที่มีความตึงของด้ายล่างน้อยเกินไป
4. ปรับด้าย โดยใช้ไขขวงเล็ก ๆ หมุนสกรูปีกกระสวยให้แน่นเข้า
5. ลักษณะของฝีเข็มที่ถูกต้อง ด้ายบนหรือด้ายล่างไม่มากเกินไป

การตั้งเกลียวกดสปริงตีนผี










แรงของเกลียวสปริงตีนผี มีส่วนช่วยให้งานคล่องตัว และสมบูรณ์แบบ แรงกดวัสดุควรจะเบามากเท่าที่ทำได้ ขณะเดียวกันก็มีประสิทธิภาพในการส่งผ้าได้อย่างสะดวกคล่อง หากต้องการให้แรงหดมากหมุนเกลียวไปตามเข็มนาฬิกา หรือแรงกดน้อยก็หมุนทวนเข็มนาฬิกา



เนื้อหาสาระ

การใช้และการบำรุงรักษาจักรเย็บผ้าธรรมดา

เหตุขัดข้องในขณะที่เย็บผ้า (ส่วนหัวจักร)
1. ด้ายติดในเปลกระสวย
สาเหตุ วงล้อมประคับหมุนกลับ ด้ายขาดลงไปติดในเปลกระสวย
อาการ จักรฝืดเดินไม่คล่อง หรือไม่เดิน
วิธีแก้ไข ถอดเข็มจักรออก ปลดสายพานออกจากล้อประคับ พลิกหัวจักรขึ้น ถอดกระสวยออก
ใช้ปากคีบดึงด้ายออกจากเปลกระสวย หรืออาจจะถอดเปลกระสวยออกทั้งหมด
ทำความสะอาดชิ้นส่วนทุกชิ้น หยอดน้ำมันในร่องเปล – กระสวย 1 – 2 ประกอบ
เข้าที่เดิม






รูปเปลกระสวย

2. ด้ายขาดบ่อย ๆ
สาเหตุ (1) ใส่เข็มหรือใส่ไม่เข้าที่
วิธีแก้ไข ใส่เข็มให้ถูกวิธี ดังรูป

การใส่เข็มจักร








เนื้อหาสาระ

สาเหตุ (2) ด้านบนตึงจนเกินไป
วิธีแก้ไข ปรับชุดการควบคุมความตึง – หย่อน เส้นด้ายบนให้คลายออก





การปรับชุดควบคุมความตึงเส้นด้าย
3. ตารูดหรือถั่วงอก
- ถั่วงอกด้านบน
สาเหตุ แรงดึงของด้ายบนตึงจนเกินไปหรือแรงดึงจากด้ายล่าง (จากกระโหลกกระสวยหย่อน
เกินไป
วิธีแก้ไข ปรับชุดการควบคุมความตึง – หย่อน เส้นด้ายบนให้คลายความตึงลง ถ้าคลายลงจนสุด
แล้วด้ายบนยังมีความตึงอยู่ แสดงว่าหมุดที่กระโหลกกระสวยหรือหมุดปรับความตึง
หย่อน ที่กระโหลกกระสวยคลายหย่อนเกินไปให้ปรับหมุดที่กระสวยเข้าให้คับขึ้นดังรูป






รูปการปรับชุดการควบคุมความตึง – หย่อนเส้นด้ายบนและล่าง
- ถั่วงอกด้านล่าง
4. ตะเข็บกระโดดหรือเย็บไม่ติด
5. เสาเข็มไม่ขัดขึ้น – สูงตามปกติ
6. เข็มหักบ่อย ๆ
7. ชุดฟันปลา (ฟันกระต่าย)
8. เย็บย่น
9. ฟรีล้อคลาย
10. ด้ายติดในแหนบชุดเปลกระสวย

เนื้อหาสาระ

11. วิธีเปลี่ยนสปริงกระตุกด้ายในชุดควบคุม ความตึง - หย่อน
12. ชุดกรอด้าย
13. ชุดปรับระยะฝีเข็ม

ปัญหาเกี่ยวกับช่วงล่างของจักรเย็บผ้า
1. เสียงดัง
2. ถีบหนัก (ฝืด)
3. สายพานหลุดบ่อย
ข้อแนะนำเกี่ยวกับจัดห้องตัดเย็บ และการใช้จักร
1. ห้องปฏิบัติงาน
2. จักรเย็บผ้า
การแก้ไขเครื่องจักร
1. ฟันกระต่าย (Feed dog)
2. จานเปลกระสวย (Shuttle race complete)
3. เข็มและหลักเข็ม (Needle and Needle bar)
4. ฝาครอบฟันกระต่าย (Needle plate)
5. กระสวยจักร (Babbin Case)
6. ที่หนีบด้าย (Tension dise)
7. ก้านกระตุกด้าย (Thread takeup lever)
อุปกรณ์ประกอบจักร
- อุปกรณ์ประกอบจักรเย็บผ้าธรรมดา
1. ฝีเข็มตรง
2. ฝีเข็มตรงและซิกแซ็กทำลวดลายได้
การดูแลรักษาจักร
1. การทำความสะอาดที่ยึดกระสวย
2. การทำความสะอาดที่เกี่ยวกับด้าย



กิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นตอนการสอนหรือกิจกรรมของครู
ขั้นตอนการเรียนหรือกิจกรรมของนักเรียน

1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.1 ทบทวนความรู้เดิมในหน่วยที่ 2 เพื่อให้เกิด
ความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับเนื้อหาใหม่
1.2 บอกจุดประสงค์ของบทเรียนให้ผู้เรียนทราบว่า เมื่อเรียนจบเนื้อหาวิชาแล้ว จะเกิดการเรียนรู้อะไรบ้าง
1.3 สรุปสาระสำคัญของบทเรียนในภาพรวม

2. ขั้นสอน
2.1 ถามความรู้เกี่ยวกับจักรเย็บผ้าชนิดธรรมดาใน
วิธีการใช้ วิธีแก้ไขเมื่อจักรขัดข้อง และการดูแลรักษาจักร
2.2 ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปราย ถามตอบใน
รายละเอียด ดังต่อไปนี้
1) วิธีการใช้จักร
2) การบำรุงรักษาจักรเย็บผ้าชนิดธรรมดา
3) ข้อแนะนำเกี่ยวกับจัดห้องตัดเย็บ
4) การแก้เครื่องจักร
5) อุปกรณ์ประกอบจักร
6) การดูแลรักษาจักรเย็บผ้า
7) การทำความสะอาด

3. จัดกิจกรรม
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ
โดยแบ่งกลุ่ม 2 – 3 คน ให้ช่วยกันอภิปราย ถามตอบ โดยศึกษาจากการดูการสาธิตการสอนของครู ในการฝึกใช้อุปกรณ์จักรเย็บผ้า พร้อมฝึกเย็บจักรธรรมดาให้คล่องในแต่ละกลุ่ม
3.1 .ให้ผู้เรียนฝึกเย็บตะเข็บต่าง ๆ

4. ขั้นวิเคราะห์
4.1 ครูให้ผู้เรียน เรียกชื่อส่วนประกอบของจักรเย็บผ้า
ถูกต้อง
4.2 ฝึกถีบจักให้คล่องได้ทุกคน
4.3 ผู้เรียนสามารถเย็บตะเข็บต่าง ๆ ได้

5. ขั้นสรุป
5.1 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผล
5.2 ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุปประเด็นสำคัญ ๆ



1. ฟังคำบรรยาย และตอบคำถาม
2. ผู้เรียนร่วมกับครูอภิปรายในหัวข้อดังต่อไปนี้
1) วิธีการใช้จักร
2) การบำรุงรักษาจักรเย็บผ้าชนิดธรรมดา
3) ข้อแนะนำเกี่ยวกับการจัดห้องตัดเย็บ
4) การแก้เครื่องจักร
5) อุปกรณ์ประกอบจักร
6) การดูแลรักษาจักรเย็บผ้า
7) การทำความสะอาด
3. จัดกลุ่ม 2 – 3 คน ช่วยกันอภิปราย ถามตอบ และฝึกเย็บจักรธรรมดา
4. ผู้เรียนสามารถฝึกถีบจักรได้
1) เรียกชื่อส่วนประกอบได้
2) ฝึกใช้อุปกรณ์ประกอบจักรได้
3) ผู้เรียนสามารถเย็บตะเข็บต่าง ๆ ได้
5. ผู้เรียนประเมินผลงาน จากชิ้นงาน และทบทวนโดยการฝึกปฏิบัติเย็บจักรธรรมดา
งานที่มอบหมายหรือกิจกรรม
ก่อนเรียน
- ให้ผู้เรียนฟังคำบรรยาย และตอบคำถามเกี่ยวกับพื้นฐานความรู้เดิม
ขณะเรียน
- ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม โดยแบ่งกลุ่มอภิปรายถึงจักรเย็บผ้าชนิดธรรมดา โดยฝึกใช้อุปกรณ์ประกอบจักรทุกชนิด
- ฝึกเย็บจักรให้คล่องทุกคน
- พัฒนาทักษะโดยเย็บตะเข็บต่าง ๆ ได้

หลังเรียน
- ผู้เรียนสามารถนำเสนอแสดงผลงานที่ฝึก
- ผู้เรียนทบทวนเนื้อหาร่วมกับครู
สื่อการเรียนการสอน และนวัตกรรม
1. จักรเย็บผ้าแบบธรรมดา 1 เครื่อง ของจริง
2. จักรเย็บผ้าแบบซิกแซ็ก 1 เครื่อง ของจริง
3. เอกสารอ้างอิง
- อัจฉราพร ไศละศูต และสมศรี สุกุมลจันทร์. วิชา ชุดครูประกาศนียบัตร วิชา การศึกษาหมวด
คหกรรมศาสตร์ ตอนที่ 1 วิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ
- กมล ฤทธิโชติ. คพ.006 การใช้จักรอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมอาชีวศึกษา
คอยบริการเครื่องจักรกล, “การแก้ไขและบำรุงรักษาจักรเย็บผ้า”, กรุงเทพฯ กรมอาชีวศึกษา










การประเมินผล
ก่อนเรียน
- โดยการซักถาม สังเกต ด้านทักษะที่ต่อเนื่องกับวิชาการใช้บำรุงรักษาจักร
- การถามตอบ

ขณะเรียน
- มีการอภิปราย ซักถาม ถามตอบ และกิจกรรมการฝึกจักรธรรมดา
- สังเกตพฤติกรรม การเรียนอย่างมีความสุข

หลังเรียน
- สรุปทบทวนเนื้อหา และการนำเสนอผลงาน ซึ่งผู้เรียนและครูมีกิจกรรมร่วมกัน
- การฝึกแบบฝึกหัดการเย็บตะเข็บต่าง ๆ

บันทึกหลังการสอน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………



แผนการสอน
หน่วยที่ 1
ชื่อวิชา การใช้และบำรุงรักษาจักร
สอนครั้งที่ 6 - 7
ชื่อหน่วย จักรเย็บผ้าระบบคอมพิวเตอร์
ชั่วโมงรวม 8
ชื่อเรื่องหรือชื่อหน่วย จักรเย็บผ้าระบบคอมพิวเตอร์
จำนวนชั่วโมง……
หัวข้อเรื่องและงาน
1. จักรเย็บผ้าระบบคอมพิวเตอร์
1.1 ส่วนประกอบของจักรคอมพิวเตอร์
1.2 อุปกรณ์ประกอบจักรคอมพิวเตอร์
1.3 วิธีเปิดจักร
1.4 การเลือกใช้เข็มและด้ายให้สัมพันธ์กับงานเย็บ
1.5 การร้อยด้ายบน
1.6 การใช้โปรแกรม
1.7 การทำรังดุม
1.8 การบำรุงรักษาจักร
1.9 การแก้ไขข้อขัดข้องที่เกิดจากจักร
สาระสำคัญ
ปัจจุบันจักรคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับงานเย็บทั่ว ๆ ไปมาก เพราะสามารถที่จะปักลวดลายได้

สมรรถนะที่พึงประสงค์ (ความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ)
1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ วิธีการใช้จักรคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบจักรคอมพิวเตอร์
2. มีการพัฒนาทักษะการเย็บจักรคอมพิวเตอร์
3. สามารถทราบถึงการบำรุงรักษาจักรคอมพิวเตอร์
เนื้อหาสาระ
ส่วนประกอบจักรคอมพิวเตอร์








เนื้อหาสาระ

ส่วนประกอบ
1. ตีนทับผ้า 9. แถบรายละเอียดและหมายเลขเครื่อง ถ้าแรง
ถ้าต้องการเลื่อนตีนทับผ้า ดันไฟฟ้า (โวลท์) ในตัวจักรไม่ตรงกับแรง
31 เลื่อนตีนทับผ้าขึ้น แล้วกรอก้าน ดันไฟในบ้าน อย่าเสียบปลั๊ก
ปลดตีนทับผ้า 10. สวิทซ์
32 สอดตันทับผ้าอันใหม่เข้าแทนที่ แล้ว 11. ช่องใส่คาสเซ็ทลาย
เลื่อนคันโยกตีนทับผ้าลง 12. สายไฟเสียบเข้ากับตัวเครื่อง
2. เข็ม (ใช้เข็มระบบ 130/705H) ถ้าเข็มทื่อหรือ 13. ขาเหยียบควบคุมความเร็ว ดังสายออกจาก
หักงอ ควรเปลี่ยนใหม่ทันที ใส่เข็ม โดยจับ (กรณีต้องการเก็บสาย ทำได้โดยสอดนิ้วหมุน
โคนเข็มให้จนสุดแล้วหมุนสกรูยึดเข็มให้แน่น วงล้อใต้ขาเหยียบ) เสียบปลั๊กเข้าตัวจักร ให้
3. หลอดไฟ 12 โวลท์ 5 วัตต์ แน่ใจว่าดันเข้าจนสุด ควบคุมความเร็วจักร
4. ปุ่มความตึงด้านบน โดยวางเท้าเต็มเท้า (ไม่ควรใช้ปลายเท้า)
5. คันกระตุกด้าย ลงบนขาเหยียบแล้วกดลง
6. แกนกรอด้ายและสวิทซ์ 14. ฟรีอาร์ม
7. หูหิ้วจักรและหลักด้าย 15. ฝาปิดกระสวย – ใส่กระสวย
8. โปรแกรมลาย คีย์บอร์ดและจอแสดงหมายเลข 16. ปุ่มลดฟันจักร (อยู่ด้านหลังฟรีอาร์ม) ใช้ลด
ฟัน เวลาชุนหรือปักจักรล่อนสะดึง
17. ก้านยกตีนทับผ้า ใช้เลื่อนตีนทับผ้าขึ้นและลง

- อุปกรณ์ประกอบจักร
- วิธีเปิดจักร มีคู่มือวิธีการใช้อยู่ด้านฝาครอบจักร
- การเลือกใช้เข็มและด้ายให้สัมพันธ์กับงานเย็บ
- การใส่เข็ม
- การถอดและการเปลี่ยนตีนผี
- การใช้ขาเหยียบ
- การใช้งาน
- การเปลี่ยนไส้กระสวย
- การกรอด้าย




เนื้อหาสาระ

การใช้โปรแกรม
1. ตะเข็บใช้งาน
2. ตะเข็บตกแต่ง
3. ตัวอักษรภาษาอังกฤษ – ตัวเลข และลายต่าง ๆ
การทำรังดุม
1. รังดุมธรรมดา
2. รังดุมผ้าหนา
3. รังดุมยืด
4. รังดุมสูท
5. รังดุมหัวกุญแจ
การบำรุงรักษาจักร วิธีทำความสะอาด
การแก้ไขข้อขัดข้องที่เกิดจากจักร
1. ฝีเข็มกระโดด
2. ด้ายบนขาดบ่อย
3. ด้านล่างขาดบ่อย
4. เข็มหักบ่อย
5. จักรส่งผ้าไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ส่งผ้าเลย
6. จักรเดินไม่สะดวก หรือไม่เดิน
7. ผ้าย่นขณะเย็บ
8. ระบบเตือนด้ายในกระสวยหมด แต่ไฟไม่ทำงาน
9. จักรไม่สามารถเย็บโปรแกรมตามที่ป้อนเข้าไปได้
10. จักรไม่สามารถเย็บโปรแกรม หรือผสมลายได้
11. สวิทซ์จักรหลอดไฟขึ้น แต่หน้าจอไม่ทำงาน
12. จักรมีเสียงดังขณะเย็บ







กิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นตอนการสอนหรือกิจกรรมของครู
ขั้นตอนการเรียนหรือกิจกรรมของนักเรียน

1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.1 ทบทวนความรู้เดิมในหน่วยที่ 5 เพื่อให้เกิด
ความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับเนื้อหาใหม่
1.2 บอกจุดประสงค์ของบทเรียนให้ผู้เรียนทราบว่า เมื่อเรียนจบเนื้อหาวิชาแล้ว จะเกิดการเรียนรู้อะไรบ้าง
1.3 สรุปสาระสำคัญของบทเรียนในภาพรวม

2. ขั้นสอน
2.1 ถามความรู้เกี่ยวกับจักรเย็บผ้าคอมพิวเตอร์ใน
วิธีการใช้ อุปกรณ์ประกอบจักร คอมพิวเตอร์ และการดูแลรักษาจักร
2.2 ครูและผู้เรียนมีกิจกรรมร่วมกันอภิปราย ถามตอบใน
รายละเอียด ดังนี้คือ
1) ส่วนประกอบ, อุปกรณ์จักรคอมพิวเตอร์
2) วิธีเปิดจักร
3) การเลือกใช้เข็มและด้ายให้สัมพันธ์กับงานเย็บ
4) การร้อยด้ายบน
5) การใช้โปรแกรม
6) การทำรังดุม
7) การบำรุงรักษาจักร
8) การแก้ไขข้อขัดข้องที่เกิดจากจักร

3. จัดกิจกรรม
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ
โดยแบ่งกลุ่ม 4 – 5 คน ครูจะสาธิตให้กลุ่มผู้เรียนทีละกลุ่ม ฝึกจักรเย็บผ้าคอมพิวเตอร์ตามลำดับขั้นตอน
3.1 ให้ผู้เรียนฝึกทำความสะอาดจักรคอมพิวเตอร์

4. ขั้นวิเคราะห์
4.1 ครูให้ผู้เรียนฝึกเย็บจักรคอมพิวเตอร์
4.2 ครูให้คะแนนประเมินผล

5. ขั้นสรุป
5.1 ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสรุปบทเรียน และการประเมินผล
5.2 สรุปผลงานของผู้เรียน



1. ฟังคำบรรยาย และตอบคำถาม
2. ผู้เรียนร่วมกับครูอภิปรายในหัวข้อดังต่อไปนี้
1) ส่วนประกอบ, อุปกรณ์จักรคอมพิวเตอร์
2) วิธีเปิดจักร
3) การเลือกใช้เข็มและด้ายให้สัมพันธ์กับงานเย็บ
4) การร้อยด้ายบน
5) การใช้โปรแกรม
6) การทำรังดุม
7) การบำรุงรักษาจักร
8) การแก้ไขข้อขัดข้องที่เกิดจากจักร
3. จัดกลุ่ม 4 – 5 คน ผู้เรียนช่วยกันอภิปราย ถามตอบ และฝึกเย็บจักรคอมพิวเตอร์
4. ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับจักรคอมพิวเตอร์
1) มีความรู้ วิธีการใช้จักรคอมพิวเตอร์
2) มีความรู้ ใช้อุปกรณ์จักรคอมพิวเตอร์
3) มีความรู้ การบำรุงรักษาจักรคอมพิวเตอร์
5. ผู้เรียนประเมินผลงาน จากชิ้นงาน และทบทวนโดยการฝึกทักษะในการเย็บจักรคอมพิวเตอร์
งานที่มอบหมายหรือกิจกรรม
ก่อนเรียน
- ให้ผู้เรียนฟังคำบรรยาย และตอบคำถามเกี่ยวกับจักรเย็บผ้าธรรมดา
ขณะเรียน
- ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม โดยแบ่งกลุ่มอภิปรายถึงจักรเย็บผ้าคอมพิวเตอร์ โดยฝึกใช้อุปกรณ์ประกอบจักรคอมพิวเตอร์
- มีความรู้เกี่ยวกับจักรเย็บผ้าคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ
- พัฒนาทักษะโดยการใช้อุปกรณ์ประกอบจักรคอมพิวเตอร์
- มีความรู้ในการบำรุงรักษาจักรคอมพิวเตอร์

หลังเรียน
- ผู้เรียนสามารถที่จะอภิปราย เรียกชื่อชิ้นส่วนของอุปกรณ์จักรคอมพิวเตอร์ได้
- ครูและผู้เรียนสรุปทบทวนเนื้อหาร่วมกัน
สื่อการเรียนการสอน และนวัตกรรม
1. จักรเย็บผ้าแบบธรรมดา 1 เครื่อง ของจริง
2. จักรเย็บผ้าแบบซิกแซ็ก 1 เครื่อง ของจริง
3. เอกสารอ้างอิง
- อัจฉราพร ไศละศูต และสมศรี สุกุมลจันทร์. วิชา ชุดครูประกาศนียบัตร วิชา การศึกษาหมวด
คหกรรมศาสตร์ ตอนที่ 1 วิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ
- กมล ฤทธิโชติ. คพ.006 การใช้จักรอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมอาชีวศึกษา
คอยบริการเครื่องจักรกล, “การแก้ไขและบำรุงรักษาจักรเย็บผ้า”, กรุงเทพฯ กรมอาชีวศึกษา











การประเมินผล
ก่อนเรียน
- โดยการซักถาม สังเกต การพัฒนาด้านทักษะที่ต่อเนื่องกับวิชาการใช้บำรุงรักษาจักร
- การถามตอบ

ขณะเรียน
- มีการอภิปรายกลุ่ม ซักถาม ถามตอบ และกิจกรรมการฝึกจักรคอมพิวเตอร์
- สังเกตพฤติกรรม การเรียนอย่างมีความสุข

หลังเรียน
- สรุปทบทวนเนื้อหา และการนำเสนอผลงาน
- การฝึกทักษะจากแบบฝึกหัด

บันทึกหลังการสอน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


แผนการสอน
หน่วยที่ 1
ชื่อวิชา การใช้และบำรุงรักษาจักร
สอนครั้งที่ 8 - 10
ชื่อหน่วย จักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม
ชั่วโมงรวม 12
ชื่อเรื่องหรือชื่อหน่วย จักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม
จำนวนชั่วโมง……
หัวข้อเรื่องและงาน
1. จักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม
1.1 ผู้ประดิษฐ์เครื่องจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม
1.2 จักรอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน
1.3 ส่วนประกอบของจักรอุตสาหกรรม
1.4 อุปกรณ์ประกอบจักรอุตสาหกรรมฝีเข็มตรง
1.5 การเลือกเข็มและด้ายเย็บ
1.6 ลักษณะของเข็มที่ใช้ในอุตสาหกรรม
1.7 ปัญหาและมาตรการแก้ไขจักรเย็บอุตสาหกรรม
1.8 การบำรุงรักษาเครื่องจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม
สาระสำคัญ
1. จักรอุตสาหกรรมชนิดฝีเข็มตรง
2. จักรพันริม ชนิด 1 เข็ม ใช้ด้าย 3 เส้น
3. จักรพันริม ชนิด 2 เข็ม ใช้ด้าย 5 เส้น
4. จักรถักรังดุม, จักรอุตสาหกรรมติดกระดุม

สมรรถนะที่พึงประสงค์ (ความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ)
1. เพื่อให้มีความรู้ ในส่วนประกอบของจักร และอุปกรณ์ประกอบจักรอุตสาหกรรม
2. สามารถเข้าใจในระบบการทำงานของจักรอุตสาหกรรม
3. มีการพัฒนาการฝึกใช้จักรอุตสาหกรรม
4. สามารถบำรุงรักษาจักรอุตสาหกรรม
เนื้อหาสาระ
ผู้ประดิษฐ์เครื่องจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม

เครื่องจักรเย็บผ้ายุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม

Introduced 1881 Introduced 1908

เนื้อหาสาระ

จักรอุตสาหกรรมแต่ละชนิด จะมีวิธีการใช้งานที่แตกต่างกัน พอจะสรุปได้ดังนี้
1. จักรอุตสาหกรรมชนิดฝีเข็มตรง (High Speed Sewing machine) ฝีเข็มแบบนี้นิยมใช้กันมาก มี
ลักษณะเช่นเดียวกันกับฝีเข็มจักรธรรมดา ลักษณะโดยทั่วไปของจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมแข็งแรง กระสวย
หมุนรอบ เดินหน้าถอยหลังได้ โดยมีเครื่องบังคับ เย็บได้ทั้งผ้าบาง ผ้าหนา และหนัง มีความเร็วไม่ต่ำกว่า
3,000 – 5,000 รอบ/นาที มีระบบหล่อลื่นอัตโนมัติ การทำงานของเครื่องจักรขับเคลื่อนโดยระบบสายพาน สามารถยกตีนผี โดยใช้เข่าและมือ สามารถใช้ไฟมอเตอร์ 220 โวลต์ มอเตอร์ขนาดไม่น้อยกว่า 1/4 แรงม้า
ขับเคลื่อนโดยระบบคลัตช์ ชื่อการค้า เช่น Singer, Brother, Pfaff, Juki เป็นต้น





High Speed Single Needle Lockstiteh Machine
การเรียกชื่อชิ้นส่วนจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมฝีเข็มตรง







1.โต๊ะจักร 11. พลูเลย์
2. คอจักร 12. สายพาน
3. ฐานจักร 13. ที่ปรับเดินหน้า – ถอยหลัง
4. ช่องดูน้ำมัน 14. ที่กรอกระสวย
5. ที่ปรับฝีเข็ม 15. ใต้ฐานจักร
6. ปุ่มปรับด้ายตึงหย่อน 16. คลัตช์มอเตอร์
7. ก้านกระตุกด้าย 17. ที่ยกตีนผีด้วยเข่า
8. หัวจักร 18. ขาจักร
9. ที่ปรับระยะฝีเข็ม 19. แป้นเท้าเหยียบ

เนื้อหาสาระ

จักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมฝีเข็มตรง
- ส่วนประกอบของจักร
- ลักษณะการทำงานของสายพานระหว่างล้อกับมอเตอร์
- วิธีกรอกระสวย, วิธีใส่กระสวย
- วิธีการร้อยด้ายบน, วิธีใส่เข็มจักร
- ปรับตะเข็บตึงหย่อน, ปรับความถี่ห่างของฝีเข็ม
อุปกรณ์ประกอบจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมฝีเข็มตรง
1. ตีนผี ตีเกล็ด
2. ตีนผีเย็บผ้าชนิดพิเศษ
3. ตีนผีม้วนริมผ้า
4. ตีนผีกั้นริม ซ้ายขวา
5. ตีนผีติดซิป ซ้ายขวา
6. เครื่องพันชายเสื้อ
7. เครื่องสอดกุ้น
การเลือกเข็มและด้าย
ลักษณะของเข็มที่ใช้ในอุตสาหกรรม
1. เข็มจักรอุตสาหกรรมธรรมดา
2. เข็มจักรอุตสาหกรรมเย็บถักรังดุม
3. เข็มจักรอุตสาหกรรมเย็บรังดุม
4. เข็มจักรอุตสาหกรรมเย็บแซ็กริมผ้า
ปัญหาและมาตรการแก้ไขจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม
- ด้ายขาด
- ตะเข็บกระโดด
- ตะเข็บผิดปกติ
- เข็มหัก
- รอยย่นของวัสดุที่ใช้เย็บเกิดขึ้นบ่อย





เนื้อหาสาระ

การบำรุงรักษาเครื่องจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม
2. จักรพันริม ชนิด 1 เข็ม ใช้ด้าย 3 เส้น
- วิธีการร้อยด้ายจักรโพ้ง
- การทำงานของจักร
- ตีนฝีจักร







จักรพันริม 1 เข็ม
3. จักรพันริม ชนิด 2 เข็ม ใช้ด้าย 5 เส้น ใช้เย็บพันริมและเย็บตะเข็บลูกโซ่ได้ ในขณะเดียวกัน ระยะฝีเข็มยาวไม่ต่ำกว่า 3.00 มม. ความสูงของเท้าทับผ้า ไม่น้อยกว่า 6.00 มม. ใช้ได้กับผ้าทุกชนิด ทั้งผ้าบาง ผ้าปานกลาง และผ้าหนามีที่ปรับขนาดตะเข็บฝีเข็มเย็บได้ด้วยความเร็วสูงไม่ต่ำกว่า 6,000 รอบ/นาที ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 1/2 แรงม้า ระบบไฟฟ้า 220 โวลต์
MO – 2354N MO – 2364N


1 2
1 2
MO – 2366N



3

เนื้อหาสาระ

4. จักรถักรังดุม เป็นจักรอุตสาหกรรม ถักรังดุมพร้อมตัดเจาะอัตโนมัติ เจาะรังดุมได้หลายชนิด มีระบบหล่อลื่นน้ำมันอัตโนมัติ ปรับฝีเข็มถี่ห่างของรังดุมได้ ตีนผีทับผ้าและแป้นรองรับจะเคลื่อนไป พร้อมกัน ในขณะตัดรังดุมเพื่อไม่ให้ผ้าย่น มีกลไกป้องกันไม่ให้ใบมีดทำงานเมื่อเกิดด้ายขาด ระบบไฟฟ้า 220 โวลต์




High Speed Button Hole Sewing Machine



5. จักรอุตสาหกรรมติดกระดุม เป็นจักรอุตสาหกรรมติดกระดุมอัตโนมัติ ใช้ติดกระดุมแบบทั้งแบบ
2 รู และ 4 รู ความเร็วสูงสุดไม่น้อยกว่า 1,5000 ฝีเข็ม/นาที ติดกระดุมใช้ระบบย้าย แค้ม มีระบบตัดด้ายอัตโนมัติฝีเข็มมาตรฐาน 8 – 16 – 32 ฝีเข็ม 1 ครั้ง















กิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นตอนการสอนหรือกิจกรรมของครู
ขั้นตอนการเรียนหรือกิจกรรมของนักเรียน

1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.1 ทบทวนความรู้เดิมในหน่วยที่ 7 เพื่อให้เกิด
ความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับเนื้อหาใหม่
1.2 บอกจุดประสงค์ของบทเรียนให้ผู้เรียนทราบว่า เมื่อเรียนจบเนื้อหาวิชาแล้ว จะเกิดการเรียนรู้อะไรบ้าง
1.3 สรุปสาระสำคัญของบทเรียนในภาพรวม

2. ขั้นสอน
2.1 ถามความรู้เกี่ยวกับจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมมีประวัติ ชนิดของเครื่องจักรอุตสาหกรรมและการใช้และบำรุงรักษาจักร
2.2 ครูและผู้เรียนมีกิจกรรมร่วมกันอภิปราย ถามตอบใน
รายละเอียด ดังนี้คือ
1) ผู้ประดิษฐ์เครื่องจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม
2) จักรอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน
3) ส่วนประกอบของจักรอุตสาหกรรม
4) อุปกรณ์ประกอบจักรอุตสาหกรรมฝีเข็มตรง
5) การเลือกเข็มและด้ายเย็บ
6) ลักษณะของเข็มที่ใช้ในอุตสาหกรรม
7) ปัญหาและมาตราการแก้ไขจักรเย็บอุตสาหกรรม
8) การบำรุงรักษาเครื่องจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม

3. จัดกิจกรรม
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ
โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนกลุ่มละ 4 – 5 คน ครูจะสาธิตให้กลุ่มผู้เรียนทีละกลุ่ม ฝึกใช้จักรอุตสาหกรรม ตามลำดับขั้นตอน
3.1 ให้ผู้เรียนฝึกทำความสะอาดจักรอุตสาหกรรม
3.2 ให้ผู้เรียนฝึกเย็บจักรอุตสาหกรรม และรู้รักษาความปลอดภัยอย่างถูกต้อง

4. ขั้นวิเคราะห์
4.1 ผู้เรียนมีความสามารถและทักษะในการใช้และฝึกเย็บด้วยจักรอุตสาหกรรม
4.2 ครูให้คะแนนประเมินผลงานตามเกณฑ์การประเมิน

5. ขั้นสรุป
5.1 ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสรุปเนื้อหาในบทเรียน


1. ฟังคำบรรยาย และตอบคำถาม
2. ผู้เรียนร่วมกับครูอภิปรายในหัวข้อต่อไปนี้
1) ผู้ประดิษฐ์เครื่องจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม
2) จักรอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน
3) ส่วนประกอบของจักรอุตสาหกรรม
4) อุปกรณ์ประกอบจักรอุตสาหกรรมฝีเข็มตรง
5) การเลือกเข็มและด้ายเย็บ
6) ลักษณะของเข็มที่ใช้ในอุตสาหกรรม
7) ปัญหาและมาตรการแก้ไขจักรเย็บอุตสาหกรรม
8) การบำรุงรักษาเครื่องจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม
3. จัดกลุ่มผู้เรียน 4 – 5 คน ผู้เรียนมีส่วนร่วมช่วยกันอภิปราย ถามตอบ และฝึกเย็บจักรอุตสาหกรรม
4. ผู้เรียนมีการพัฒนาในด้านทักษะการใช้จักร ฝึกเย็บจักรอุตสาหกรรม และการบำรุงรักษาจักรอุตสาหกรรม ได้ดี
5. ผู้เรียนสรุป และประเมินผลงาน ในชิ้นงาน และทบทวน โดยใช้แบบฝึกหัดฝึกเย็บด้ายจักรอุตสาหกรรม
งานที่มอบหมายหรือกิจกรรม
ก่อนเรียน
- ให้ผู้เรียนฟังคำบรรยาย และตอบคำถามเกี่ยวกับจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม
ขณะเรียน
- ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม โดยแบ่งกลุ่มอภิปราย การใช้จักรอุตสาหกรรม โดยฝึกใช้อุปกรณ์ และฝึกเย็บด้วยจักรอุตสาหกรรม
- มีความรู้เกี่ยวกับชนิดของจักรอุตสาหกรรม
- พัฒนาทักษะโดยใช้อุปกรณ์ประกอบจักรอุตสาหกรรม
- มีความรู้ในการบำรุงรักษาจักรอุตสาหกรรม

หลังเรียน
- ผู้เรียนสามารถที่จะเรียกชิ้นส่วนของอุปกรณ์จักรอุตสาหกรรมได้
- มีทักษะในการเย็บผ้าด้วยจักรอุตสาหกรรม
สื่อการเรียนการสอน และนวัตกรรม
1. จักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมชนิดฝีเข็มตรง 1 เครื่อง ของจริง
2. จักรพันริม ชนิด 1 เข็ม ใช้ด้าย 3 เส้น 1 เครื่อง ของจริง
3. จักรพันริม ชนิด 2 เข็ม ใช้ด้าย 5 เส้น 1 เครื่อง ของจริง
4. จักรถักรังดุม, จักรอุตสาหกรรม ติดกระดุม อย่างละ 1 เครื่อง ของจริง
5. เอกสารอ้างอิง
- กมล ฤทธิโชติ. คพ.006 การใช้จักรอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมอาชีวศึกษา
คอยบริการเครื่องจักรกล, “การแก้ไขและบำรุงรักษาจักรเย็บผ้า”, กรุงเทพฯ กรมอาชีวศึกษา











การประเมินผล
ก่อนเรียน
- โดยการซักถาม สังเกต การพัฒนาด้านทักษะที่ต่อเนื่องกับวิชาการใช้บำรุงรักษาจักร
- การถามตอบ

ขณะเรียน
- โดยการอภิปรายกลุ่ม ซักถาม และกิจกรรมการฝึกจักรอุตสาหกรรม
- สังเกตพฤติกรรม การเรียนอย่างมีความสุข

หลังเรียน
- สรุปทบทวนเนื้อหา และการนำเสนอผลงาน
- ให้คะแนนการประเมินตามเกณฑ์การประเมิน

บันทึกหลังการสอน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ไม่มีความคิดเห็น: